top of page

          สองศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐอิลินอยส์ (University of Illinois) คนหนึ่งเชียวชาญทางวัสดุศาสตร์ ส่วนอีกคนแตกฉานทางวิศวกรรมไฟฟ้า  ได้ร่วมมือกันพัฒนาหมึกที่สามารถนำไฟฟ้าขึ้นมา ซึ่งสามารถนำไปใช้กับปากกาลูกลื่นทั่วไปได้ แนวคิดดังกล่าวทำให้สามารถใช้ปากกาวาดวงจรไฟฟ้าที่ใช้งานได้จริงลงบนกระดาษ หรือวัสดุใดๆ ก็ตามที่ปากกาเขียนติด 

        น้ำหมึกพิเศษนี้มีส่วนผสมของอนุภาคเงินขนาดนาโน (silver nanoparticle) ซึ่งจะอยู่ในรูปสารละลายที่เป็นของเหลวขณะที่อยู่ในไส้ปากกา และจะแห้งเหมือนหมึกปากกาทั่วไปเมื่อเขียนลงบนกระดาษ ปากกาที่ใช้น้ำหมึกนี้สามารถวาดวงจรของจอ LCD หรือเสาอากาศ ลงบนแผ่นระดาศ ซึ่งสามารถทำงานได้เช่นเดียวกับแผงวงจรแบบธรรมดา

       Jennifer Bernard หัวหน้าทีมวิจัย อธิบายถึงวิธีการสร้างหมึกพิเศษนี้ว่า ทีมวิจัยผลิตอนุภาคเงินนาโนโดยรีดิวส์สารละลายซิลเวอร์ไนเตรต (AgNO3) ในสภาวะที่เป็นกรด เพื่อป้องกันอนุภาคเงินเกาะกันเองจนมีขนาดใหญ่เกินไป แล้วค่อยกำจัดกรดออกจากสารละลายภายหลัง จากนั้นจึงปรับแต่งเนื้อสัมผัสโดยผสม  hydroxyethyl cellulose จนสารละลายมีความหนืดหนืดพอเหมาะ ผลก็คือได้สารละลายที่มีลัษณะเหมือน "โลหะเหลว" มีคุณสมบัติในการนำไฟฟ้า และแห้งอย่างรวดเร็วเมื่อสัมผัสกับกระดาษ 
           

       หลังจากเขียนวงจรลงบนกระดาษแล้วทีมวิจัยได้ทดลองม้วนกระดาษหลายๆ ครั้ง และพบว่าแผงวงจรกระดาษที่เขียนขึ้นสามารถทนการม้วนซ้ำไปซ้ำมาได้หลายพัน ครั้ง กว่าเส้นวงจรที่เขียนขึ้นจะขาดออกจากกัน  

       งานวิจัยนี้ ทดลองโดยใช้กระดาษเพราะเป็นวัสดุที่หาได้งาย ราคาถูก ม้วนงอได้ และที่สำคัญคือสามารถย่อยสลายได้ในธรรมชาติ ปัจจุบัน มีการวิจัยที่ประสบความสำเร็จในการโดยใช้ปรินเตอร์หรือแอร์บรัช สร้างแผงวงจรบนวัสดุที่ไม่ได้ใช้ทั่วไป เช่น กระดาษ แต่งานวิจัยเป็นแนวทางใหม่ที่ช่วยให้สามารถวาดวงจรไฟฟ้าได้อย่างอิสระ รวดเร็ว และมีราคาถูก แถมยังสามารถพกอุปกรณ์ไปไหนมาไหนได้ด้วย ทีมวิจัยนี้วางแผนที่จะพัฒนาหมึกนำไฟฟ้าให้ใช้ได้กับวัสดุหลายชนิดมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ครอบคลุมการใช้งานได้มากกว่าเดิม ในอนาคตอาจใช้กับวัสดุอื่นๆ เช่น ไม้หรือเซรามิกได้ด้วย จากจุดเด่นของหมึกนำไฟฟ้า อาจสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ อย่าง แผงวงจรแบบใช้แล้วทิ้งหรือแบตเตอรีราคาถูกสุดๆ ก็เป็นได้

bottom of page